1. โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies virus)
2. โรคพิษสุนัขบ้าเกิดได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
โรคพิษสุนัขบ้าสามารถเกิดได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด อย่างเช่นสุนัข แมว โค กระบือ หมู หนู กระต่าย แต่ที่เรียกว่า “พิษสุนัขบ้า” เพราะพบโรคนี้ครั้งแรกในสุนัข
3. การติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อจากเชื้อไวรัสออกมากับน้ำลายสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่จะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ถูกกัดหรือ ข่วน หรือเข้าทางเยื่อบุตา ปาก จมูก ที่มีแผลหรือรอยฉีกขาดได้ ซึ่งสุนัขหรือแมวสามารถแพร่เชื้อ ผ่านทางน้าลายได้ 1-7 วัน ก่อนแสดงอาการป่วย
4. อาการของสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า
แบบก้าวร้าว
พบโดยส่วนใหญ่ สัตว์จะมีอาการดุร้าย กระวนกระวาย วิ่งไล่กัดคนหรือสัตว์ทุกชนิดที่ขวางหน้า มีน้าลายไหลย้อยเนื่องจากเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อขากรรไกร ตัวเกร็ง หางตก ต่อมาจะเกิดอาการอัมพาต ขาหมดแรง หมดสติและเสียชีวิตภายในไม่กี่วันจนถึง 2 สัปดาห์
แบบเซื่องซึม
จะสังเกตได้ยากกว่าแบบก้าวร้าว โดยจะมีอาการคล้ายเป็นโรคอื่นๆ เก็บตัวอยู่เงียบๆ ดูไม่มีอันตราย อาจกัดคนหรือสัตว์อื่นเมื่อถูกรบกวน จากนั้นจะเกิดอัมพาต และเสียชีวิต
5. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
แท้ที่จริงแล้ว สัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าไม่ได้กลัวน้ำ แต่ไม่สามารถกลืนน้ำหรืออาหารได้ เนื่องจากเป็นการอัมพาตของกล้ามเนื้อคอ กล่องเสียง และหลอดอาหาร ทำให้เมื่อกินจะสำลัก และเจ็บปวดมาก จึงมีอาการเหมือนกลัวน้ำ
6. โรคพิษสุนัขบ้าสามารถพบได้ตลอดทั้งปี
โรคพิษสุนัขบ้าสามารถพบได้ตลอดทั้งปีในทุกฤดูกาล
7. การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ หากเป็นแล้วจะเสียชีวิตเท่านั้น สิ่งที่สามารถทำได้คือการป้องกันโรคโดยการฉีดวัคซีนให้สุนัข และแมว “โดยสุนัข และแมวจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าครั้งแรกที่อายุ 12 สัปดาห์ และเข็มที่สองจะฉีดหลังจากเข็มแรก 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำเป็นประจำทุกปี”
อ้างอิง สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคสัตว์